มุมภาษี – ภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมต่างประเทศ
บริษัท ก ทำธุรกิจให้เช่าที่ดิน โดยให้ บริษัท ข เป็นผู้เช่าระยะยาว ต่อมาได้ทำสัญญายกเลิกเช่าและจะต้องคืนเงินให้บริษัท ข บริษัท ก จึงได้ทำสัญญาเงินกู้กับบริษัทที่ต่างประเทศขึ้นมาหนึ่งฉบับ ขอเรียนสอบถามว่า “ดอกเบี้ยเงินกู้จากสัญญาฉบับนี้บริษัท ก สามารถนำมาบันทึกค่าใช้จ่ายทางภาษีในกิจการได้หรือไม่”
โดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาองค์ประกอบรายจ่ายในการดำเนินกิจการที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ โดยต้องครบองค์ประกอบทุกข้อดังนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
1.ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติธุระในการดำเนินกิจการทั่วไป ได้แก่ รายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นปกติธุระในการดำเนินกิจการทั่วไป ที่มีที่มาที่ไป หรือเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ่ายรายจ่ายรายการนั้น และ
2.ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และพิสูจน์ได้ว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะจ่ายรายการรายจ่ายนั้น และ
3.ต้องเป็นรายจ่ายที่มีหลักฐานการจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบสั่งของ ใบแจ้งหนี้ เป็นต้น และ
4.ต้องเป็นรายจ่ายสิ้นเปลืองหมดไปที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
มิฉะนั้น อาจถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เช่น ค่าซ่อมแซม บำรุงรักษาทรัพย์สินให้คงสภาพเดิม ณ วันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินรายการนั้น และ
5.ต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ และสามารถกำหนดจำนวนที่แน่ชัดได้ ตามหลักเกณฑ์สิทธิ และ
6.รายจ่ายในการดำเนินงานเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่รายจ่ายนั้นกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ และ
7.ต้องไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัท ก ได้กู้ยืมเงินจากบริษัทต่างประเทศนั้น หากนำเงินกู้มาใช้การดำเนินกิจการ รวมทั้งการจ่ายคืนให้แก่ผู้เช่า “ดอกเบี้ยเงินกู้จากสัญญาฉบับนี้บริษัท ก ย่อมสามารถนำมาบันทึกค่าใช้จ่ายทางภาษีในกิจการได้” ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง