สหประชาชาติลงมติถอนทหารออกจากประเทศมาลีภายในสิ้นปี

เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ลงคะแนนเสียงโหวตร่วมกันในประเด็นการถอนกำลังทหารของสหประชาชาติออกจากประเทศมาลี หลังทหารของสหประชาชาติดำเนินภารกิจในประเทศนี้มานานสิบปี

ผลการลงมติโดย 15 ชาติเป็นเอกฉันท์ สหประชาชาติ จะเริ่มดำเนินการถอนทหารจำนวน 13,000-15,000 นาย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ไปจนถึงวันสิ้นปีนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ลูกชายฮุน เซน” เปิดแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งพรรคประชาชนกัมพูชา

ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ลอตเตอรี่ 1/7/66

กองกำลังทหารของสหประชาชาติที่เข้าไปทำภารกิจรักษาสันติภาพมีชื่อเรียกว่า มินูสมา (MINUSMA) สหประชาชาติส่งทหารเข้าไปในมาลีเพื่อต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธจีฮัดและเพื่อปกป้องชีวิตของพลเรือนในพื้นที่ความขัดแย้ง

ในมติการประชุมล่าสุด กระบวนการถอนทหารที่ใช้ระยะเวลา 6 เดือนประกอบด้วย การหยุดปฏิบัติการ การถ่ายโอนภารกิจ ตลอดจนการเบิกถอนและถอนกำลังพลอย่างเป็นระเบียบและปลอดภัย และทุกขั้นตอนต้องดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคมปี 2023

อย่างไรก็ตามท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยังคงอนุญาตให้ทหารมินูสมา ดำเนินการตอบสนองต่อวคามรุนแรงที่คุกคามพลเรือนได้ ตลอดจนมีส่วนร่วมทางความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนนี้

ด้านเสียงจากประชาชนชาวมาลีว่าอย่างไร? อันที่จริงประเด็นการหารือเพื่อถอนทหารมินูสมานี้ รัฐบาลมาลีพูดถึงมานานกว่าสองสัปดาห์แล้ว และต้องการบรรลุเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ

ที่เมืองทิมบักตู เมืองเก่าแก่ของมาลี ชาวบ้านระบุว่า ช่วงเวลา 8-10 ปีที่ผ่านมานั้น พวกเขาไม่ได้รู้สึกว่าการมีกองกำลังของทหารต่างชาติในประเทศจะช่วยให้ประเทศสงบขึ้นแต่อย่างใด บ่งชี้ว่าภารกิจของสหประชาชาติล้มเหลว

มาลีตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก พื้นที่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของมาลีเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายซาฮารา พื้นที่ที่กลุ่มจีฮัดขยายอิทธิพลอยู่ กองกำลังมินูสมาเข้ามาปราบกลุ่มติดอาวุธในมาลีตั้งแต่ปี 2013 และภารกิจนี้ถือได้ว่าเป็นภารกิจที่ทำให้ทหารของสหประชาชาติเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากภารกิจในเลบานอน

รวมจำนวนทหารของสหประชาชาติที่เสียชีวิตในมาลีทั้งหมดปัจจุบันอยู่ที่ 304 นาย นอกจากนั้นมินูสมายังเป็นภารกิจที่ใช้ค่าใช้จ่ายแพงที่สุดด้วยงบประมาณ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี หรือราว 42,000 ล้านบาท

หลังรัฐประหารเกิดขึ้นในปี 2020 ทหารเข้าควบคุมรัฐบาลและแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นรัฐบาลเปลี่ยนผ่าน หลังจากนั้นในปี 2021 รัฐบาลมาลีก็หันไปใช้บริการจากกลุ่มแวกเนอร์ กลุ่มทหารรับจ้างของรัสเซียในการปราบปรามกลุ่มติดอาวุธจีฮัด และรักษาความสงบในพื้นที่ขัดแย้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ภารกิจของมินูสมาก็ได้รับผลกระทบ ถูกแทรกแซง และเผชิญกับคำสั่งหยุดชะงักบ่อยครั้ง จนนำมาสู่ความขัดแย้ง

ความขัดแย้งยังเกิดขึ้นกับกองกำลังชาติตะวันตกที่เข้าไปทำภารกิจสันติภาพด้วย เช่น กองกำลังฝรั่งเศส จนนำไปสู่การถอนทหารฝรั่งเศสออกจากมาลีอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา หลังปฏิบัติภารกิจในประเทศนี้มานาน 9 ปี

การถอนทหารของสหประชาชาติออกจากมาลีทั้งหมดสร้างความกังวลว่า สถานการณ์ความไม่สงบในมาลีจะยิ่งเลวร้ายลง รวมถึงยังมีเสียงวิจารณ์จากสหรัฐฯ ว่า แวกเนอร์อาจอยู่เบื้องหลังของความพยายามถอนทหารสหประชาชาติออกจากมาลี

รายงานจาก จอห์น เคอร์บี โฆษกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวแถลงในกรุงวอชิงตันเมื่อวานนี้ว่า เยฟเกนี ปริโกชิน หัวหน้ากลุ่มแวกเนอร์มีส่วนช่วยออกแบบกระบวนการถอนทหารของสหประชาชาติ เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ของกลุ่มแวกเนอร์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีความคิดเห็นหรือแถลงโต้กลับจากกลุ่มแวกเนอร์ในข้อกล่าวหานี้

แต่ในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แอนนา เอสตีนีวา รองเอกอัคราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ ซึ่งเป็นผู้แทนจากรัสเซียออกตัวชัดเจนว่า รัสเซียพร้อมจะรับประกันความมั่นคงของมาลีต่อไป

 สหประชาชาติลงมติถอนทหารออกจากประเทศมาลีภายในสิ้นปี

สอดคล้องกับรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียก่อนหน้าที่ยืนยันว่า กลุ่มแวกเนอร์จะยังคงอยู่ในมาลีต่อไป

ไม่ชัดเจนว่ามีกลุ่มแวกเนอร์ในมาลีมากแค่ไหน แต่ในภาพรวมทั่วทวีปแอฟริกา คาดกันว่ามีสมาชิกกลุ่มแวกเนอร์ประจำการในประเทศต่างๆ อย่างน้อย 5,000 ราย สาเหตุที่หลายฝ่ายกังวลว่ามาลีอาจแย่ลงเป็นเพราะหลังมีทหารแวกเนอร์เข้ามาในประเทศ เหตุความไม่สงบและจำนวนผู้เสียชีวิตกลับเพิ่มขึ้น

ข้อมูลจากองค์กรไม่แสวงกำไร Armed Conflict Location and Event Data Project ชี้ว่า ช่วง 11 เดือนหลังกลุ่มแวกเนอร์เข้ามาในมาลี ผลปรากฎว่ากลุ่มจีฮัดกลับขยายการโจมตีมากขึ้น

รวมจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งพลเรือนและทหารมาลีในปี 2022 มากแตะ 5,000 ราย ซึ่งในปี 2021 จำนวนผู้เสียชีวิตรวมเกือบ 2,000 ราย ขณะที่ในปีก่อนหน้ามีราว 3,000 ราย จะเห็นว่าหลังกลุ่มแวกเนอร์เปิดปฏิบัติการทางหาร จำนวนผู้เสียชีวิตในปี 2022 ก็สูงกว่าในช่วงที่ทหารของสหประชาชาติและทหารฝรั่งเศสประจำการเป็นเท่าตัว

รายงานยังระบุว่า ไม่เพียงเผชิญกับแรงกดดันจากการแทรกแซงของกลุ่มแวกเนอร์ แต่ฝ่ายรัฐบาลทหารของมาลีเองก็มีส่วนทำให้กองกำลังของสหประชาชาติและกองกำลังชาติตะวันตกทำงานยากขึ้น เช่น ชะลอการอนุญาตให้หมุนเวียนกองกำลัง และจำกัดสิทธิ์ในการบิน

ผลที่ได้คือ ทหารของสหประชาชาติและทหารชาติตะวันตกมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากขึ้น จำมาสู่การทยอยประกาศถอนกำลังทหารชาติตะวันตก ออกจากมาลีอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักร

ส่วนในกรณีของสหประชาชาติ คาดกันว่าจุดแตกหักเกิดขึ้นจากเหตุสังหหารในเมืองมัวรา เมืองทางตอนกลางของประเทศในเดือนมีนาคม ปี 2022 รัฐบาลทหารห้ามไม่ให้ทหารมินูสมาเข้าถึงพื้นที่ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติร่วมกับแอมเนสตี้หาวิธีเข้าถึงพยาน และชาวบ้านที่รอดชีวิตเล่าตรงกันว่า พวกเขาเห็นทหารต่างชาติที่พูดภาษารัสเซียร่วมมือกับทหารมาลีสังหารผู้บริสุทธิ์

กรณีดังกล่าวอาจเข้าข่ายอาชญากรรมสงคราม ทั้งยังสะท้อนถึงความรุนแรงจากกลุ่มทหารแวกเนอร์ นี่จึงเป็นที่มาของความกังวลใจต่ออนาคตของมาลีว่าสถานการณ์ความไม่สงบอาจลุกลามบานปลาย ในวันที่สหประชาชาติถอนกำลังทหารออกไปหมด และคงเหลือแต่กลุ่มแวกเนอร์เท่านั้น